การคำนวณโหลดไฟฟ้า เพื่อใช้เลือกเบรกเกอร์ มีการคำนวณอย่างไร?
การคำนวณโหลดไฟฟ้า นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญตาม มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า ซึ่งการคำนวณโหลดไฟฟ้านั้นก็เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกันอยู่พอสมควร โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นศึกษาในเรื่องของวงจรไฟฟ้า หรือต้องการเลือกซื้อเบรกเกอร์มาใช้งาน
โดยการคำนวณโหลดนั้นจะช่วยให้สามารถเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้ามาใช้งานได้แม่นยำและตรงกับการใช้งานจริงมากขึ้น เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ การคำนวณโหลดไฟฟ้า กันก่อนดีกว่าว่ามีความสำคัญแค่ไหน และสามารถที่จะทำได้อย่างไรบ้าง
การคำนวณโหลดไฟฟ้า คืออะไร?
การคำนวณโหลดนั้นเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญสำหรับงานไฟฟ้า หรือจะมองงว่าเป็นหัวใจสำคัญสำหรับงานไฟฟ้าเลยก็ไม่ผิด เพราะขั้นตอนนี้จะค่อนข้างมีความละเอียดอ่อน และต้องทำความเข้าใจอยู่พอสมควร ซึ่งหากจะให้ตีความอย่างง่ายก็คือ การคำนวณโหลดรวมของสถานที่ที่เราจะต้องทำการติดตั้งคอนโทรลระบบไฟฟ้า ซึ่งการคำนวณโหลดก็จะช่วยเป็นตัวกำหนดขนาดของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ทั้ง บริภัณฑ์ประธาน และ มิเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น
การคำนวณโหลดแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
การคำนวณโหลดสำหรับวงจรสายป้อน
การคำนวณโหลดสำหรับวงจรประธาน
การคำนวณโหลสำหรับวงจรย่อย คืออะไร?
สำหรับ การคำนวณโหลดไฟฟ้า สำหรับวงจรย่อยนั้นเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมาก ซึ่งก็คือการรวมวงจรย่อยทั้งหมดเข้าด้วยกัน แล้วหาค่า D.F. (Demand Factor) ที่เหมาะสมคูณเข้าไป ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลโดยตรงจากการออกแบบระบบไฟฟ้า อีกทั้งค่าโหลดที่คำนวณออกมาได้ก็ยังมีความใกล้เคียงกับโหลดไฟฟ้าที่จะใช้จริงด้วย
สิ่งสำคัญที่ต้องคำนวณสำหรับวงจรย่อย
ในการคำนวณโหลดไฟฟ้าสำหรับวงจรย่อยนั้นก็มีสิ่งจำเป็นที่จะต้องคำนวณอยู่ 3 สิ่งด้วยกัน คือ
ขนาดพิกัดของตัววงจรย่อย
ขนาดความยาวของสายไฟสำหรับวงจรย่อย (ต้องไม่น้อยกว่า 25mm)
ขนาดรางเดินสายไฟ
วิธีการคำนวณโหลดไฟฟ้าวงจรสายป้อน
วิธีคำนวณโหลดวงจรย่อย ต้องคำนวณตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้
วงจรย่อยนั้นต้องมีขนาดที่ไม่น้อยไปกว่าผลรวมของโหลดทั้งหมดในวงจรนั้น
คำนวณตามการติดตั้งจริงของโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้า และแสงสว่าง
สำหรับเต้ารับใช้งานทั่วไป ให้คำนวณโหลดจุดละ 180 โวลต์แอมแปร์ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเต้ารับเดี่ยว เต้ารับคู่ หรือสามเต้า หากว่ามีการติดตั้งแบบ 4 เต้า ให้คำนวณโหลดที่จุดละ 360 โวลต์แอมแปร์
หากมีเต้ารับอื่นที่ไม่ได้ใช้งานทั่วไป ให้คำนวณตามขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้นๆ
การคำนวณโหลดไฟฟ้า วงจรสายป้อน คืออะไร?
การคำนวณโหลดสายป้อน คือการนำโหลดทั้งหมดที่มีการต่ออยู่ในวงจรสายป้อนเดียวกันมาคำนวณรวมกัน ซึ่งการคำนวณจะสามารถใช้หรือไม่ใช้ค่าดีมานด์แฟกเตอร์ก็ได้ หากว่าผู้ออกแบบพิจารณาดูแล้วว่าในการใช้งานจริงจะมีความเป็นไปได้สูงว่าใช้โหลดมากกว่าค่าดีมานด์แฟกเตอร์ที่กำหนดไว้ แต่หากจะใช้ค่า D.F. ก็จะต้องใช้สำหรับสายป้อนเท่านั้น
สิ่งที่ต้องคำนวณสำหรับวงจรสายป้อน
สำหรับสิ่งสำคัญหลักๆ ในการคำนวณโหลดของวงจรสายป้อนนั้น ก็มีสิ่งที่ต้องคำนวณอยู่ 4 อย่างด้วยกัน คือ
โหลดแสงสว่าง
โหลดเต้ารับที่ใช้งานทั่วไป
โหลดเต้ารับตัวอื่นที่ไม่ได้ใช้งานทั่วไป
โหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่มีอยู่ในอาคาร หรือที่อยู่อาศัย
วิธีการคำนวณโหลดไฟฟ้าวงจรสายป้อน
ในส่วนของการคำนวณโหลดสำหรับสายป้อนนั้น วิธีการคำนวณก็ไม่แตกต่างจากการคำนวณโหลดวงจรย่อยมากนัก หากแต่ว่าจะต้องมีส่วนที่พิจารณาเพิ่มเติมมากขึ้น คือ
สายป้อน จะต้องมีขนาดกระแสไฟฟ้าที่เพียงพอต่อการจ่ายโหลด และผลรวมจะต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของโหลดในวงจรย่อย เมื่อมีการอิงจากค่าดีมานด์แฟคเตอร์
การใช้ดีมานด์แฟคเตอร์ จะต้องใช้จากตารางที่มีระบุไว้ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
เต้ารับในอาคาร หรือที่อยู่อาศัยที่มีการต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทราบโหลดแน่นอนแล้ว ให้คำนวณจากเต้ารับที่มีขนาดสูงที่สุดเพียง 1 เครื่อง แล้วนำไปรวมกับร้อยละ 40 ของโหลดที่มาจากเต้ารับที่เหลือ
การใช้ Demand Factor นั้นจะต้องใช้สำหรับสายป้อนเท่านั้น ห้ามใช้กับวงจรย่อย
และเมื่อคำนวณโหลดไฟฟ้าสำหรับสายป้อนได้เรียบร้อยแล้ว ก็จะสามารถเลือกซื้อ เซอร์กิตเบรกเกอรร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น โดย
การคำนวณโหลดสำหรับสายประธาน คืออะไร?
เป็นการโหลดแผงจ่ายไฟทั้งหมดในระบบมารวมกัน ซึ่งสายประธานจะต้องมีกระแสเพียงพอต่อการจ่ายโหลด และต้องไม่น้อยกว่าผลรวมโหลดทั้งหมดในอาคารหรือที่อยู่อาศัย เมื่ออิงจากค่าดีมานด์แฟกเตอร์
วิธีการคำนวณโหลดไฟฟ้าวงจรสายประธาน
ต้องทำให้ง่ายต่อการออกแบบ และเพิ่มเติมโหลดในอนาคตได้
ต้องมีรายละเอียดของแต่ละวงจรย่อยอย่างชัดเจน
ง่ายต่อการจัดโหลดให้สมดุลกัน 3 เฟส (Load Balancing)
แบบฟอร์ม เหมือนการกัดวงจรจริงใน กล่อง Load Center หรือ Consumer Unit
สามารถคำนวณหาโหลดสายป้อนได้
แนะนำ Molded case circuit breaker (MCCB) จาก Schneider Electric
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวของการคำนวณโหลดไฟฟ้าที่มีความจำเป็นต่อมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าในอาคาร หรือที่อยู่อาศัย ซึ่งเมื่อมีการคำนวณโหลดเรียบร้อยแล้ว การซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นอย่าง Molded case circuit breaker (MCCB) ทำได้ง่ายขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็น เบรกเกอร์ที่รองรับกระแสสูงสุด 160 แอมป์, 630 แอมป์ และ 3200 แอมป์ ก็สามารถเลือกซื้อได้ตรงกับความต้องการ และการใช้งานอย่างแท้จริง
สำหรับใครที่กำลังมองหา Molded case circuit breaker (MCCB) จาก Schneider Electric ก็สามารถเข้าไปเลือกซื้อกันได้ง่ายๆ ที่ www.se.com หรือหากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า อุปกรณ์ด้านไฟฟ้าอื่นๆ ก็สามารถแชทพูดคุยสอบถามกับทางเราได้ทันที แล้วเรื่องไฟฟ้าจะกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น