เซอร์กิตเบรกเกอร์ ตัดวงจรกระแสรั่วไหล อันตรายกว่าที่คิด ป้องกันไว้ดีกว่าแก้

 

เซอร์กิตเบรกเกอร์ สวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อตัดวงจรไฟฟ้าหลังตรวจพบความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดโหลดเกิน
หรือไฟฟ้าลัดวงจร ป้องกันการเกิดกระแสรั่วไหล (leakage current) หรือกระแสไฟฟ้าทำงานผิดปกติ รั่วไหลจากวงจรไฟฟ้าไม่ว่าจะ
เป็นแบบตรง (DC) หรือแบบสลับ (AC) ผ่านอุปกรณ์ป้องกัน (protective ground) ไปยังกราวด์ ส่วนกรณีที่ไม่มีการติดตั้งสายดิน
หากมีกระแสไฟฟ้ารั่ว ไฟก็จะไหลไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า เช่น วัสดุหุ้มสายไฟ โครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า
อุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปภายในบ้าน ผนังบ้าน หรือแม้แต่เสาโคมไฟที่เป็นโลหะ 
ทำให้บริเวณเหล่านี้มีกระแสไฟฟ้าขึ้น ถ้าหากเราเผลอสัมผัสก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ และหากไฟฟ้ารั่วเยอะก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้
เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม การติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ได้มาตรฐาน จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากเกิด
กระแสรั่วไหล ปกติทุกๆ บ้านจะมีการติดตั้งเบรกเกอร์อยู่แล้ว เพียงแต่ถ้าหากติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ถูกต้อง
กระแสไฟก็ยังคงสามารถรั่วไหลโดยที่เบรกเกอร์ไม่ทริป หรือไม่มีการตัดวงจรไฟฟ้า 

เซอร์กิตเบรกเกอร์ ตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดกระแสรั่วไหล 


อุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนใหญ่มักจะติดตั้งพร้อมระบบกราวด์หรือระบบสายดินเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าช็อตหากมีการขัดข้อง
ของฉนวนหุ้มไฟ สาเหตุของกระแสไฟฟ้ารั่วนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเดินสายไฟที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน
การติดตั้งระบบไฟฟ้า ฉนวนไฟฟ้าชำรุดเสียหายจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าผิดประเภทหรือผิดวิธี
หรือแม้แต่การขาดการบำรุงรักษ เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดกระแสรั่วไหล
หรือ Leakage Current นั้นก็คือ การที่ฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพหรือชำรุด ทำให้มีแรงดันไฟฟ้าเกิดขึ้นที่บริเวณที่มีการรั่วไหลมากไปกว่านั้น การเกิดกระแสไฟรั่วไหลนั้นมี 2 ประเภทด้วยกันตามประเภทของวงจรไฟฟ้า นั่นคือ AC leakage และ DC leakage ซึ่งกระแสไฟรั่วแบบวงจร DC มักจะเกิดขึ้นที่อุปกรณ์ปลายทางเท่านั้นและไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นที่บริเวณแหล่งจ่ายไฟได้ ซึ่งแตกต่างจากกระแสไฟฟ้ารั่วแบบ AC ที่นั้นเกิดขึ้นจากการรวมกันของความจุไฟฟ้าและความต้านทานไฟกระแสตรง (DC resistance) ที่บริเวณแหล่งจ่ายไฟ AC และอุปกรณ์กราวด์ 

อันตรายเกิดกระแสรั่วไหลแล้ว เซอร์กิตเบรกเกอร์ ไม่ทริป


ขึ้นชื่อว่าไฟฟ้าก็ต้องอันตรายเป็นธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่กำลังมีกระแสรั่วไหล Leakage current อยู่ ดังนั้น หากมีผู้ไปสัมผัส
บริเวณที่มีไฟฟ้ารั่ว ก็อาจทำให้ถูกไฟดูดได้ อย่างไรก็ตาม ระดับความอันตรายของกระแสไฟฟ้ารั่วนี้จะขึ้นอยู่กับ ปริมาณของกระแสไฟฟ้า
และระยะเวลาที่ถูกไฟดูด ซึ่งหากบังเอิญไปจับบริเวณที่มีไฟฟ้ารั่วไหลอยู่มากก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลย นอกจากนี้ กระแสไฟฟ้าที่รั่ว
ก็จะไหลไปเรื่อย ๆ ตามสิ่งของหรืออุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ เพราะจุดที่มีไฟฟ้ารั่วจะเกิดความร้อนสะสม
และถ้าหากสะสมอยู่เป็นเวลานานก็จะทำให้ติดไฟจนนำไปสู่การเกิดเพลิงไหม้ได้ในที่สุด นอกเหนือจากอันตรายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและ
ความปลอดภัยแล้ว การรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า ก็เป็นการสิ้นเปลืองค่าไฟอีกด้วย เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้น กระแสไฟจะไหลไปเรื่อย ๆ
ผ่านสื่อนำต่าง ๆ เพื่อลงสู่ดิน ดังนั้น การตรวจสอบหรือติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันกระแสรั่ว หรือ Leakage current จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม
ไม่ว่าจะเป็นในระดับครัวเรือนหรือในระดับอุตสาหกรรม 
มากไปกว่านั้น ในระดับอุตสาหกรรม การรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า อาจส่งผลกระทบต่อวงจรการผลิต การดำเนินงาน หรือขั้นตอนใด ๆ
ในการประกอบกิจการ ทำให้เกิดผลเสียต่อบริษัทได้ ยกตัวอย่างเช่น ในวงการแพทย์หรือในโรงพยาบาลที่ต้องใช้เครื่องมือไฟฟ้ามากมายใน
การรักษาผู้ป่วย จึงไม่ควรเกิดทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหลในทุกกรณี เพราะอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวผู้ป่วย รวมถึงมาตรฐานการรักษา
ของโรงพยาบาลอีกด้วย


เซอร์กิตเบรกเกอร์ อุปกรณ์ป้องกันกระแสรั่วไหล 

จะเห็นได้ว่า กระแสไฟฟ้ารั่วไหลนั้นส่งผลเสียได้อย่างมหาศาล จึงต้องมีโซลูชันดี ๆ รวมถึงมาตรการป้องกัน
ที่รัดกุมเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้น ซึ่งวิธีแรกที่จำเป็นต้องทำคือการติดตั้งสายดินนั่นเอง อย่างไรก็ตาม
แม้การติดตั้งสายดินจะเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด แต่จะดีกว่าไหมหากเรามีอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ มาช่วยป้องกันให้เรา
อุ่นใจมากยิ่งขึ้น ที่ Schneider เรามีอุปกรณ์ป้องกันกระแสรั่วไหลที่ครอบคลุม จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) หรือ “เบรกเกอร์” ที่เราเรียกกันอย่างคุ้นชิน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้า
ที่ปิดวงจรไฟฟ้าทันทีเมื่อเริ่มมีการลัดวงจร โดยจะมีทั้งแบบอัตโนมัติที่เปิดปิดวงจรด้วยตัวเอง
เมื่อกระแสไฟไหลเกินค่ากำหนด และแบบสวิตช์เปิด-ปิดด้วยมือ Schneider มี circuit breaker
หลากหลายรุ่นที่เหมาะสมกับทุกการใช้งานของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น Miniature Circuit Breaker
เบรกเกอร์ลูกย่อย มีขนาดเล็ก สำหรับใช้ในบ้านหรืออาคารที่มีกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 100A หรือ
Molded Case Circuit Breaker (MCCB) MCCB คือ เบรกเกอร์สำหรับระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ
(น้อยกว่า 1,000V) เหมาะทั้งสำหรับงานเชิงพาณิชย์ อาคารขนาดใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรม
รองรับกระแสที่สูงกว่าเบรกเกอร์ลูกย่อย (MCB)

นอกจากเซอร์กิตเบรกเกอร์ ยังมีอุปกรณ์อะไรช่วยป้องกันกระแสรั่วไหล ดังนี้

  1. RCCB (Residual Current Circuit Breakers) จาก Schneider ก็เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์อีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ที่จะช่วยตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดการรั่วในระบบแต่ไม่สามารถตัดกระแสลัดวงจรได้ และ ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker) อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด-ไฟรั่ว ที่มักจะใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ และปั๊มน้ำ 
  2. เครื่องตัดไฟรั่ว หรือเครื่องกันไฟดูด (Residual Current Device - RCD) เป็นอุปกรณ์ปลดวงจรไฟฟ้า ที่มักจะใช้ร่วมกับเบรกเกอร์ โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้อธิบายไว้ว่า RCD จะปลดวงจรไฟฟ้าทันทีแม้มีไฟรั่วเพียงเล็กน้อย กล่าวคือเมื่อไฟไม่ไหลกลับไปตามสายไฟฟ้า แต่รั่วลงดินผ่านร่างกายมนุษย์หรือฉนวนไฟฟ้าที่ชำรุดนั่นเอง

เทคนิคตรวจสอบ กระแสรั่วไหล

สำหรับวิธีการตรวจสอบกระแสรั่วไหลของไฟฟ้านั้นสามารถทำได้หลายวิธี คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการทดสอบมิเตอร์ไฟฟ้าเบื้องต้น โดยการปิดไฟ
และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในบ้าน แล้วจึงไปดูที่มิเตอร์ หากมิเตอร์ยังหมุนอยู่ แสดงว่ามีกระแสไฟ
รั่วไหลอยู่ภายในบ้าน นอกจากนี้ คุณอาจลองตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน โดยกดปุ่มทดสอบ
อย่างเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งถ้าหากยังใช้ได้ดี สวิตช์จะตกลงมาทันทีเพื่อตัดกระแสไฟฟ้า และอย่าลืมหมั่น
ตรวจสอบสายไฟว่ามีการชำรุดด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงการตรวจสอบเบื้องต้นเท่านั้น
และอาจนำไปใช้ได้ยากในระดับอุตสาหกรรม 
เพื่อความแม่นยำที่มากขึ้นจึงต้องมีวิธีการคำนวณและปรับตั้งค่าต่าง ๆ ที่จำเป็นบนเซอร์กิตเบรกเกอร์
ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ค่า Ir ของเบรกเกอร์ หรือ Overload protection คือการตั้งค่ากระแสไฟฟ้า
ที่จะไม่ทำให้เบรกเกอร์ตัดวงจรทันที แต่จะตัดวงจรถ้ามีกระแสเกิน Ir ที่ตั้งค่าไว้นานระดับหนึ่ง สำหรับการวัดค่า
กระแสพิกัด (IR) สามารถทำได้โดยใช้ Micrologic 2 ซึ่งคุณสามารถศึกษาวิธีเพิ่มเติมได้ที่นี่
จะเห็นได้ว่า กระแสไฟฟ้ารั่วไหลเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวเราเลย เพราะส่งผลโดยตรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของเรา
การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันที่ทันสมัยและคุณภาพดีจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ที่ Schneider เราคือผู้เชี่ยวชาญ
ด้านดิจิทัลและระบบอัตโนมัติชั้นนำ ติดต่อเราเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Under Voltage แรงดันไฟฟ้าตก ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าที่มีสภาวะผิดปกติ

Soft start มีความสำคัญอย่างไร การทำงานเป็นแบบไหน เรามีคำตอบ

Push Button ชิ้นส่วนสำคัญที่มีข้อดีได้มากกว่าการเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า